Sunday, August 26, 2012

สอนเล่นกีต้าร์ แนวทางในการหัดเล่นกีตาร์


สอนเล่นกีต้าร์ แนวทางในการหัดเล่นกีตาร์

      1. ต้องมีใจรักอยากที่จะเล่น มีความมุ่งมั่นในการฝึก มีศิลปินและแนวดนตรีที่ชอบ เพื่อเป็นแรงผลักดันและกำลังใจในการฝึก

      2. ต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเอง ถ้าไม่มีกีต้าร์เป็นของตัวเองการฝึกซ้อมก็ทำได้ยาก ทำให้การฝึก ไม่ค่อยต่อเนื่อง การมีกีต้าร์เป็นของตัวเองจะดีที่สุด แนะนำสำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นราคาซัก 2500 – 3000 กว่าๆ ก็พอ คุณภาพก็ดีพอใช้ได้เหมาะสำหรับการเริ่มต้น

      3. หัดตั้งสายกีต้าร์ ควรรู้ถึงวิธีการตั้งสาย รู้โน้ตของสายเปล่าแต่ละสาย เพราะถ้ากีต้าร์ที่เล่นเสียงเพี้ยน เล่นยังไงก็คงจะไม่เพราะแน่ สำหรับคนที่หัดใหม่ๆการตั้งสายจากการฟังเทียบเสียงคงทำได้ลำบาก เพราะอาจจะฝังแล้วยังแยกเสียงโน้ตไม่ออก ต้องใช้เวลาซักหน่อยเมื่อเล่นไปนานๆคุณก็จะฝังออกเอง แนะนำให้ซื้อเครื่องตั้งสายมาใช้ก่อนแล้วค่อยฝึกตั้งสายด้วยตัวเองควบคู่ไป และเมื่อไหร่ที่เล่นแล้วรู้สึกว่าเสียงมันเพี้ยนๆ ก็ลองหัดตั้งสายไปเลยถ้ายังไม่ได้ก็ใช้เครื่องตั้งสายช่วยไปก่อน ฝึกฟังไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ได้เอง เรื่องแบบนี้มันต้องใช้เวลา

      4. หัดจับคอร์ดง่ายๆ ซัก 3 – 4 คอร์ด ที่พอจะเล่นเป็นเพลง เพราะถ้าคอร์ดที่ฝึกจับอยู่มันเล่นรวมกันไม่เป็นเพลงเมื่อฝึกไปนานๆ จะรู้สึกเบื่อ แต่ถ้าคอร์ดที่หัดจับอยู่สามารถเล่นเป็นเพลงได้ จะทำให้คุณมีกำลังใจในการฝึกต่อไปครับ เมื่อจับคอร์ดได้ซักสามสี่คอร์ดจนคล่องแล้วก็หัดจับคอร์ดอื่น หรือหาเพลงที่คุณชอบที่มีคอร์ดที่คุณยังไม่เคยหัดจับมาเล่น แต่ไม่ควรเป็นคอร์ดที่ยากเกินไป หัดจับคอร์ดครั้งแรกแนะนำ เพลง Zombie มีคอร์ด Em - C - G - D หัดจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ด วนไปเรื่อยๆจนคล่อง และจึงหัดคอร์ดอื่นๆต่อไป หัดเล่นแรกๆยังไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะ หัดจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดให้คล่องก่อน ดีด ลงๆๆๆๆๆๆ ไปก่อน เรื่องจังหวะการดีดค่อยมาฝึกทีหลัง เพราะถ้ากังวลเรื่องจังหวะจะทำให้การจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดยากขึึ้นไปอีก การเริ่มต้นต้องค่อยเป็นค่อยๆไปพื้นฐานถือว่าำสำคัญสุดในการต่อยอดต่อไป

      5 . หัดเรื่องจังหวะการตีคอร์ด จังหวะการตีคอร์ดของแต่ละเพลงจะไม่เหมือนกัน แต่ลักษณะของการตีคอร์ดโดยมากนั้นจะเป็นการดีดขึ้นลงที่สม่ำเสมอ แต่จังหวะที่ดีดขึ้นหรือลง โดนสายหรือไม่โดนสาย ตรงนี้แหละที่เป็นจังหวะเฉพาะของแต่ละเพลง คุณต้องฟังเพลงบ่อยๆ แล้วจะฟังออกว่าจังหวะการตีคอร์ดเป็นยังไง พูดเหมือนง่ายแต่ต้องใช้เวลาและ ทักษะในการฟัง นานพอควรถึงจะฟังจังหวะดนตรีออก เทคนิคสำคัญคือต้องฟังเพลงบ่อยๆ พยายามฟังแล้วแยกฟังเสียงกีต้าร์ เสียงเบส เสียงกลอง เมื่อสามารถแยกฟังเสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้แสดงว่าคุณ มีทักษะในฟังมากขึ้น และยังสามารถใช้ในการแกะเพลงได้ด้วย

      6. เมื่อพอจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดได้คล่อง พอเล่นเป็นเพลงได้นิดหน่อย แล้วค่อยไปฝึกเทคนิคต่างๆต่อไป ตัวอย่างเช่น การฝึกนิ้วมือซ้าย การเกากีต้าร์ การจับPower Chord การไล่สเกล และ เทคนิคลูกเล่นต่างๆต่อไป 




การจับปิคกีต้าร์

      ปิคกีต้าร์นั้นมีหลายแบบหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปก็คือ ปิคแบน (flat pick) ที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ทรงคือ รูป 3 เหลี่ยม แล้วก็ รูปหยดน้ำ มีให้เลือกตามขนาดความหนาของปิค ตั้งแต่ บาง , ปานกลาง และ หนา ส่วนจะเลือกใช้ขนาดไหน ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ในการเล่นตีคอร์ดนั้นแนะนำให้ใช้ปิคแบบบาง เพราะจะเกิดแรงต้านกับสายน้อยเล่นแล้วจะรู้สึกพริ้วไหวไม่สะดุด ส่วนการเล่น Solo นั้นใช้ได้ทุกขนาดขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดของแต่ละคน

      การจับปิคนั้นให้วางปิคลงด้านบนสันของปลายนิ้วชี้ นิ้วชี้อยู่ในลักษณะงอเข้าหาปลายนิ้วโป้ง แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับตัวปิค การจับไม่ได้จับจนแน่นมากให้จับพอกระชับไม่ให้หลุด ปลายปิคเลยออกมาจากนิ้วประมาณ 3-4 มิล ไม่สั้นหรือยาวออกมามากจนเกินไป ปิคต้องอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสายหรือเกือบจะตั้งฉากกับสาย และเอียงตัวปิคประมาณ 45 องศา เพื่อลดแรงประทะกับสายในขณะดีด ทำให้ดีดได้คล่องและไม่รู้สึกติดขัด 







การจับคอร์ดกีตาร์

       การจับคอร์ดนั้นให้นั่งในท่าที่ถนัด ใช้มือกำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ ถ้าเป็นการจับคอร์ดที่ไม่ใช้คอร์ดทาบ จะใช้นิ้วโป้งประคอง ด้านหลังคอกีต้าร์เพื่อให้กระชับมั่นคงและช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้น การจับสายนั้นจะต้องโก่งนิ้วที่จับสายอยู่ พยายามให้ปลายนิ้วที่กดสายตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ด มากที่สุด เพราะถ้านิ้วราบไปกับคอกีต้าร์จะทำให้โดนสายอื่นทำให้เสียงบอด ส่วนตำแหน่งการกดให้กดลงในช่องกลางระหว่างเฟร็ต หรือ ค่อนลงมานิดหน่อย แต่นิ้วยังไม่โดนเฟร็ต ถ้านิ้วโดนเฟร็ตขณะกดสายจะทำให้เสียงบอร์ด

การจับคอร์ดกีต้าร์





คอร์ดพื้นฐาน

      การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ดูนะครับเป็นคอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่นครับ.. 




การจับคอร์ดทาบ (Bar Chord)

       การจับคอร์ดทาบนั้นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆแล้ว จะรู้สึกว่าจับยากมากทั้งเจ็บนิ้วไม่มีแรงกด เสียงบอด แต่การจับคอร์ดทาบนั้นมีเทคนิคอยู่นิดเดียว คือ การหักข้อมือลงด้านล่าง แล้วใช้นิ้วโป้งประคองตรงกลางหลังคอกีต้าร์ไว้ แทนการใช้นิ้วโป้งกำคอกีต้าร์แบบการจับคอร์ดธรรมดา แบบนี้จะเป็นการจับที่ถูกวิธี และช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้นทำให้เสียงไม่บอด ส่วนนิ้วที่ใช้กดสายก็พยายามให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับสายมากที่สุดไม่ให้ไปโดนสายอื่นเพราะจะทำให้เสียงบอดได้

    

ลักษณะพิเศษของ คอร์ดทาบ หรือ (Bar Chord)

       ลักษณะพิเศษของคอร์ดทาบ ก็คือ คุณสามารถ เลื่อนคอร์ดในลักษณะการจับที่ยังเหมือนเดิม ถอยหลังเข้าหาตัว หรือ เลื่อนไปด้านหน้า แล้วคอร์ดจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคอร์ดหนึ่งโดยที่รูปแบบการจับยังเหมือนเดิม โดยมีหลักอยู่ว่า ถ้าเลื่อนถอยเข้าหาตัว 1 ช่อง (เสียงสูงขึ้น) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( # )เช่นคุณจับคอร์ด F แล้วเลื่อนเข้าหาตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น F# ถ้า 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด G ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลื่อนไปด้านหน้าออกห่างตัว 1 ช่อง (เสียงต่ำลง) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( b ) เช่นคุณจับคอร์ด B แล้วเลื่อนออกห่างตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น Bb ถ้าเลื่อนไป 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด A สายเปิด คือไม่ต้องใช้นิ้วชี้ทาบ เพราะตำแหน่งที่ต้องทาบเป็นสะพานรองสาย (Nut) พอดี 

      ส่วนการเลื่อนคอร์ดว่าเลื่อนกี่ช่องแล้วจะเปลี่ยนเป็นคอร์ดอะไรจะใช้หลักของ Major Scale คือ คอร์ด E กับ F และคอร์ด B กับ C ห่างกัน 1 ช่อง (ครึ่งเสียง) ส่วนคอร์ดอื่น A กับ B , D กับ E , F กับ G ห่างกัน 2 ช่อง (หนึ่งเสียงเต็ม) 








การเกากีต้าร์

      การเกากีตาร์หรือที่เรียกว่า picking เป็นสไตล์ในการเล่นกีตาร์อีกแบบที่มีความไพเราะเป็นเอกลักษณ์ แต่ก่อนที่จะฝึกเกากีต้าร์ควรจะต้องฝึกการตีคอร์ดให้คล่องก่อน ทั้งการเปลี่ยนคอร์ดและจังหวะการดีดให้สัมพันธ์กันก่อนนะครับ

       การวางมือนั้นมือจะอยู่เหนือสายนิดหน่อย ใช้สันนิ้วโป้งเตะพักไว้ที่สาย 6 เพื่อช่วยพยุง หรืออาจจะใช้นิ้วก้อยเตะที่ตัวกีต้าร์ช่วยพยุงก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน 

ลักษณะการวางมือในการเกากีต้าร์



หน้าที่ของแต่ละนิ้ว

       นิ้วโป้ง ใช้ในการดีดลง จะใช้ดีดสายเบส Bass ทั้งหมด คือสาย 4 - 5 - 6 - นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง จะใช้ในการเกี่ยวสายขึ้น โดยนิ้วชี้ใช้เกี่ยวสาย 3 นิ้วกลางใช้เกี่ยวสาย 2 นิ้วนางใช้เกี่ยวสาย 1 ตามลำดับส่วนนิ้วก้อยไม่ค่อยได้ใช้ในการเกากีตาร์แต่ก็อาจจะไม่เสมอไปก็แล้วแต่ว่าใครจะพลิกแพลงเล่นดูก็ได้เพราะที่กล่าวมานั้นไม่ได้เป็นกฎตายตัว ว่าจะต้องเล่นตามที่กล่าวมา แต่ในการฝึกนั้นให้ใช้นิ้วตามที่กล่าวไว้ก่อนเพราะการวางนิ้วแบบที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ในการเกากีต้าร์ 

       การเกากีตาร์มักจะเริ่มด้วยสายเบสก่อน โดยการใช้นิ้วโป้งดีดลง โดยดีดสายที่เป็นโน๊ต Root ของคอร์ด โน๊ต Root คือโน้ตตัวแรกของคอร์ดนั้นๆ เช่น คอร์ด C ก็จะเป็นโน้ต C ก็จะอยู่ที่สาย 5 ก็ดีดสาย 5 ก่อน คอร์ดอื่นๆก็พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้ 

       ถ้าเล่นคอร์ด D, F ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 4 (ถ้าคอร์ด F จับแบบทาบให้ดีดสายเบสเส้นที่ 6) 

       ถ้าเล่นคอร์ด A, B, C ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 5 

       ถ้าเล่นคอร์ด E, G ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 6 

       เมื่อดีดสายเบสแล้วจึงตามด้วยสายอื่นตามมา คือ 3 สายล่างที่เหลือ อย่าลืมว่าต้องใช้นิ้วที่ประจำอยู่ของแต่ละสายให้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ 




   สัญลักษณ์ต่อไปนี้จะใช้ในการฝึกเกากีต้าร์โดยจะใช้ในแบบฝึกต่อจากนี้ 

       - นิ้วโป้ง แทนด้วย T 

       - นิ้วชี้ แทนด้วย 1 

       - นิ้วกลาง แทนด้วย 2 

       - นิ้วนาง แทนด้วย 3 

       รูปแบบการเกาในแบบต่างๆต่อไปนี้ ให้ฝึกที่ละแบบจนคล่องก่อน แล้วค่อยฝึกแบบต่อๆไป แบบฝึกต่อไปนี้จะเป็นพื้นฐานของการเกากีต้าร์เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหัดเล่น ไม่ยากจนเกินไป ยังมีรูปแบบการเกาอื่นๆ อีกมากมายและไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินแต่ละคนที่จะแต่งออกมา 

       การอ่าน TAB ในการฝึกต่อไปนี้จะเป็นแท็บมือขวา โดยจะบอกเลยว่าใช้นิ้วไหนดีดสายไหน โดยจะแทนนิ้วต่างๆด้วยอักษร และ ตัวเลข ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบน 


แบบฝึกในการเกากีต้าร์



แบบฝึกที่ 1

แบบฝึกที่ 2

แบบฝึกที่ 3

แบบฝึกที่ 4

แบบฝึกที่ 5

แบบฝึกที่ 6

แบบฝึกที่ 7




การอ่านแท็บ (Tablature)



การอ่านแท็บ

      การอ่านแท็บสายกีต้าร์จะแทนด้วยเส้นทั้งหมด 6 เส้น เส้นบนสุดคือสาย 1 ของกีต้าร์ไล่ลงมาเป็นสาย 2 – 3 – 4 – 5 ถึงเส้นสุดท้ายคือสาย 6 โดยตัวเลขที่อยู่บนแท็บจะหมายถึงตำแหน่งที่ต้องกดว่าจะต้องกดที่ช่องใดบนฟิงเกอร์บอร์ด ของสายนั้นๆ( เลข “0” หมายถึง การดีดสายเปล่า ) และถ้าตัวเลขที่อยู่บนเส้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแนวตั้งดังรูปด้านบนก็ให้ดีดพร้อมกัน ยกตัวอย่างถ้าตรงกัน 2 สองสายก็ดีดพร้อมกันแค่สองสาย ถ้าตรงกันทั้งหมด 6 สายก็ให้ดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย เช่น ตัวอย่าง TAB ด้านบน ตัวเลขด้านขวามือสุด เป็นการจับคอร์ด G แล้วดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย (โดยมากแล้วถ้าตัวเลขอยู่ในแนวเดียวกันตั้งแต่ 3 ตำแหน่งขึ้นไปจะเป็นการจับคอร์ด ) เช่นรูปด้านบน เป็นการจับคอร์ด G จาก TAB ด้านบน การเล่นทั้งหมดคือ ( ดีดสายเปล่าสาย 6 --> ตามด้วยดีดสาย 6 ช่อง 2 --> ดีดสาย 6 ช่อง 3 --> และดีดคอร์ด G ) จะมีการดีดทั้งหมด 4 ครั้ง


       สัญลักษณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน TAB

  • h   =    hammer on
  • p   =    pull off
  • b   =   bend string up  (ดันสายขึ้น)
  • r    =   release bend  (ดันสายค้างไว้ ดีดแล้วจึงผ่อนสายลง)
  • /   =   slide up  (สไลด์ขึ้น)
  • \    =    slide down  (สไลด์ลง)
  • s   =    legato slide  (การสไลด์ไปยังโน๊ตตัวอื่นโดยไม่ต้องดีดซ้ำ)
  • v, ~   =    vibrato  (ทำเสียงสั่น)
  • tr   =   trill  (การรัวนิ้ว)
  • T   =    tap  (การเล่น Tabping)
  • x   =   on rhythm muted slash  (การให้จังหวะโดยทำเสียงบอด)



การตีคอร์ด
การเล่นเพลง
สอนเกากีตาร์พื้นฐาน



ฟังเพลงออนไลน์24ชั่วโมง  ขอเพลง  CodeRadio

2 comments:

  1. แวะมาให้กำลังใจ ครับ ทำ Blog สวยแล้ว เพียงแต่ ปรับปรุงเนื้อหาบ่อยๆนะครับ

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์มากสำหรับมือใหม่

    ReplyDelete